Saturday, September 6, 2008

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “น้ำมันแก๊สโซฮอล์”

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “น้ำมันแก๊สโซฮอล์”ตามที่มีข้อสงสัยกรณี “น้ำมันแก๊สโซฮอล์มีผลกระทบต่อถังน้ำมันและท่อทางเดินน้ำมันของรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี 1995 ขึ้นไป” นั้นบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ตลอดระยะเวลา 27 ปี ปตท.ได้มุ่งมั่น ทุ่มเทการดําเนินงานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคเสมอมา ภายใต้การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันรายแรกของประเทศที่จําหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว รวมถึงการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ดี มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ผ่านสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยฯ ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ใคร่ชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง โดยขอสรุปสาระสําคัญผ่านข้อสงสัยดังนี้

ข้อสงสัย 1.
รถยนต์ในประเทศไทยที่ผลิตตั้งแต่ปี 1995 ขึ้นไป วัสดุถังน้ำมันและท่อทางเดินน้ำมันจากถังน้ำมันเข้าสู่เครื่องยนต์จะทําจากยางหรือพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันไร้สารตะกั่วทําปฏิกิริยากับถังน้ำมันเหล็กของรถยนต์รุ่นที่เก่ากว่าปี 1994 ลงไป ดังนั้น เมื่อรัฐบาลมารณรงค์ให้ใช้ “น้ำมันแก็สโซฮอล์” หรือ E10 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอล 10% และน้ำมันเบนซิน91 อยู่ 90% เอทานอล 10% ที่ว่านี้ จะไปทําปฏิกิริยากับถังน้ำมันรถยนต์และท่อทางเดินน้ำมัน ซึ่งรถยนต์ที่ผลิตจากวัสดุที่ทําจากยาง หรือพลาสติกชนิดพิเศษดังกล่าว จะเกิดการกัดกร่อน กลายเป็นตะกอนสะสมในถังน้ำมัน

คําตอบ 1.
ในทุกประเทศที่มีการยกเลิกสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน จําเป็นต้องใช้สารเพิ่มค่าออกเทนชนิดอื่นมาทดแทน ซึ่งสารที่สามารถนํามาใช้ได้และไม่มีผลกระทบกับสมรรถนะของรถยนต์คือสาร MTBEและ Ethanol (เอทานอล) ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จึงได้มีการพัฒนาวัสดุที่ใช้ในระบบฉีดเชื้อเพลิง ตั้งแต่ถังน้ำมัน ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ท่อทางเดินน้ำมัน จนถึงหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีคุณสมบัติที่สามารถทนต่อสาร MTBE และ Ethanol ได้ ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จึงได้ให้ความมั่นใจว่า รถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี1995 เป็นต้นมา สามารถใช้กับน้ำมันเบนซินที่ผสม เอทานอลได้ ทั้งนี้สามารถตรวจสอบยี่ห้อ รุ่นรถได้ที่เว็บไซต์ของ ปตท. (www.pttplc.com)อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ผลิตก่อนปี 1995 บางรุ่นอาจใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ได้ โดยผู้ใช้สามารถสอบถามโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์

* คำตอบพูดถึงรถปี 1995 ขึ้นไปที่มีการแก้ไขถังน้ำมันปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง ท่อทางเดินน้ำมัน จนถึงหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้ใช้งานน้ำมันไร้สารตะกั่วได้นั้น จะสามารถใช้งานแก๊ซโซฮอล์ได้เช่นกันแต่ก็ไม่ได้บอกว่ารถที่เก่ากว่าปี 1995 สามารถใช้งานแก๊ซโซฮอล์ได้

ข้อสงสัย 2.
การใช้แก๊สโซฮอล์จะไปทําปฏิกิริยากับถังน้ำมันรถยนต์และท่อทางเดินน้ำมันรถยนต์ที่ผลิตจากวัสดุที่ทําจากยาง หรือพลาสติกชนิดพิเศษดังกล่าว ทําให้เกิดการกัดกร่อน กลายเป็นตะกอนสะสมในถังน้ำมันไปเรื่อยๆ ทีละน้อย ปั๊มน้ำมันไฟฟ้าจะต้องทํางานหนักขึ้นเพื่อดูดน้ำมันเข้าไปเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ทําให้อายุการใช้งานของปั๊มน้ำมันไฟฟ้าสั้นลงอย่างรวดเร็ว และทําให้ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกรองเบนซินอุดตันเร็วกว่าปกติ

คําตอบ 2. เนื่องจากวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในระบบฉีดเชื้อเพลิงของรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี 1995 และผู้ผลิตได้ให้คําแนะนําว่าสามารถใช้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้นั้น ได้ถูกออกแบบมาและมีการทดสอบแล้วว่าสามารถทนต่อ MTBE และ Ethanol ได้ ดังนั้นจึงไม่มีการละลายของยางหรือเกิดการกัดกร่อนของยาง หรือพลาสติกใด ๆจนเป็นสาเหตุให้เกิดตะกอนสะสมในถังน้ำมันอย่างที่เข้าใจกันสําหรับกรณีที่สงสัยว่า ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้วทําให้ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกรองเบนซินอุดตันเร็วนั้น “ไม่เป็นความจริง” เพราะการที่จะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิ ลักษณะการใช้งานของรถยนต์, อายุการใช้งานของไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง คุณภาพของไส้กรองเป็นต้น หากรถยนต์บางคันมีการสะสมของคราบสิ่งสกปรกในระบบเชื้อเพลิง อยู่แล้ว เมื่อเปลี่ยนมาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีในด้านการทําความสะอาดจึงอาจไปชะล้างคราบสิ่งสกปรกออกมาในครั้งแรกของการใช้เท่านั้น* คำตอบข้อนี้ก็ยังคงพูดถึงรถยนต์ปี 1995 ขึ้นไปเช่นกัน

ข้อสงสัย 3. ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์จะมีตะกอนของยางและพลาสติกชนิดพิเศษไปเกาะตามบ่าวาล์วลูกสูบ แหวนลูกสูบ หากมีปริมาณไม่มาก ก็จะทําให้แหวนลูกสูบสึกหรอไปทีละน้อย แต่หากมีปริมาณมากๆแล้ว แหวนลูกสูบจะบิ่น ทําให้เครื่องยนต์เริ่มมีปัญหาเนื่องจากแหวนลูกสูบไม่สามารถกวาดน้ำมันเครื่องลงก้นอ่างได้หมด ทําให้รถยนต์คันนั้นมีปัญหาการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ สะสมทีละน้อยๆ เครื่องก็จะค่อยๆ หลวมไปทีละนิด

คําตอบ 3. ปตท. โดย สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ได้วิจัยทดสอบการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์กับรถยนต์ทั้งที่ผลิตตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา และรถรุ่นเก่าที่ใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ ที่ระยะทาง 100,000กิโลเมตร โดยวัดมลพิษไอเสียและทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์ทั้งตลอดช่วงเวลาการใช้งานและหลังการใช้งาน โดยการถอดเครื่องยนต์เพื่อประเมินความสกปรกที่เกิดขึ้นที่ลิ้นไอดี ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ รวมทั้งความสึกหรอตามชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ลูกสูบ แหวนลูกสูบ กระบอกสูบ แบริ่งส่วนต่างๆวัดอัตราการฉีดเชื้อเพลิงของหัวฉีด และตามชิ้นส่วนต่างๆ ของคาร์บูเรเตอร์ ผลการประเมินชิ้นส่วนทั้งหมดพบว่า ระดับของการสึกหรออยู่ในระดับปกติ ไม่แตกต่างจากการใช้เชื้อเพลิงเบนซินทั่วไป ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการใช้ “น้ำมันแก๊สโซฮอล์” ไม่ได้มีผลกระทบต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่ผิดปกติไปกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงธรรมดาแต่อย่างใด* คำตอบข้อนี้พูดถึงเครื่องยนต์รุ่นเก่าด้วย แต่ก็ไม่ได้ตอบว่าในรถยนต์รุ่นเก่ากว่าปี 1995 นั้น แก๊สโซฮอล์จะไปทําปฏิกิริยากับถังน้ำมันรถยนต์และท่อทางเดินน้ำมันรถยนต์หรือไม่

ข้อสงสัย 4. คาตาไลติก คอนเวอร์เตอร์ หรือตัวกรองไอเสียของรถยนต์ในปัจจุบันไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับเชื้อเพลิงชนิดเอทานอลเบลนด์ การใช้งานเชื้อเพลิงชนิดอื่นนอกจาก RON (น้ำมันไร้สารตะกั่ว) ย่อมทําให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ชนิดนี้ลดลงกว่าที่ควรจะเป็น (คาตาไลติก คอนเวอร์เตอร์อายุใช้งานเฉลี่ยประมาณ 10 ปี)

คําตอบ 4. โดยปกติ คาตาไลติก คอนเวอร์เตอร์ หรืออุปกรณ์กรองมลพิษไอเสีย จะเสื่อมสภาพหรือมีอายุการใช้งานที่สั้นลง เมื่อสัมผัสกับโลหะหนักที่อยู่ในไอเสีย เช่น สารตะกั่ว กํามะถัน ซึ่งน้ำมันแก๊สโซฮอล์ไม่ได้มีโลหะหนักผสมอยู่ จึงไม่ได้มีผลต่ออายุการใช้งานคาตาไลติก คอนเวอร์เตอร์ทั้งนี้ การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์กรองมลพิษไอเสีย มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่4.1 เสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ ซึ่งปกติอายุของอุปกรณ์กรองไอเสียนี้จะมีอายุประมาณ 1- 2 แสนกิโลเมตร ตามระดับเทคโนโลยีการผลิต4.2 ความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานไม่เหมาะสม เช่น ติดตั้งอุปกรณ์เข้าใกล้เครื่องยนต์มากเกินไปการใช้งานที่อุณหภูมิของไอเสียสูงมากเป็นระยะเวลานาน หรือ การอุปกรณ์กรองไอเสียถูกกระแทกอย่างแรง* คำตอบข้อนี้ชัดเจน

ข้อสงสัย 5. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ที่ใช้กันในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตเอทานอลในประเทศไทยแต่ละรายยังไม่สามารถส่งมอบเอทานอลได้มาตรฐานตามข้อกําหนด ทําให้คุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในปัจจุบันยังไม่นิ่งและแปรเปลี่ยนไปตามวัตถุดิบของแต่ละโรงงานผลิต ส่งผลให้การผสมน้ำมันเบนซินไม่ได้สัดส่วนที่แน่นอนอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีบางโรงงานลดคุณภาพของเอทานอลลง เพราะไม่สามารถปรับราคาจําหน่ายขึ้นจาก 12.75 บาท มาเป็น 14.90 บาทได้ จนกระทั่งปัจจุบันรัฐบาลต้องให้ราคาสูงถึง ลิตรละ 15.00 บาทในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเพื่อจูงใจให้โรงงานผลิตเอทานอลเหล่านี้

คําตอบ 5. ในการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ผู้ค้าน้ำมันทุกรายจะต้องจัดหาเอทานอลที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกําหนดคุณภาพของเอทานอลที่ใช้สําหรับเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งไม่ว่าผู้ผลิตเอทานอลจะผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบชนิดใด หรือจะต้องขายเอทานอลด้วยราคาเท่าใดก็ตาม เอทานอลที่จะนําเสนอขายหรือผลิตได้จะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศข้อกําหนดด้วย มิฉะนั้นผู้ค้าน้ำมันจะไม่สามารถรับซื้อได้ นอกจากนั้น ผู้ค้าน้ำมันจะต้องผสมเอทานอลในอัตราส่วนตามที่กฎหมายกําหนดและควบคุมคุณภาพของแก๊สโซฮอล์ที่ผลิตได้ให้เป็นไปตามประกาศคุณสมบัติของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ปีพ.ศ. 2547ของกรมธุรกิจพลังงาน เช่นกัน* คำตอบข้อนี้ชัดเจน

ข้อสงสัย 6. แก๊สโซฮอล์ E10 ไม่สามารถให้พลังงานได้เทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 เดิม ทําให้ต้องเติมจํานวนมากกว่า เพื่อให้ได้ระยะทางการขับขี่เท่าๆ กัน

คําตอบ 6. น้ำมันแก๊สโซฮอล์มีค่าความร้อนต่ำกว่าน้ำมันเบนซินเล็กน้อย เนื่องจากมีก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นสารไม่ให้พลังงานความร้อนแต่ช่วยทําให้การเผาไหม้สมบูรณ์เป็นองค์ประกอบอยู่ส่วนหนึ่ง จากผลการทดสอบโดยสถาบันวิจัยฯ ปตท. ภายใต้สภาวะของการขับขี่ที่ควบคุมได้ พบว่าอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊สโซฮอล์แตกต่างจากน้ำมันเบนซิน 95 อยู่เพียง 1-2% อย่างไรก็ตาม การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขึ้นอยู่กับสภาพการขับขี่ของแต่ละบุคคล, สภาพของรถยนต์ และสภาพจราจรบนท้องถนน ฯลฯ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับราคาจําหน่ายแล้ว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน 95 ลิตรละ 1.50 บาท หรือ5.7% จากราคาน้ำมันเบนซิน 95 ปัจจุบันที่ 26.14 บาท/ลิตร ยังสามารถช่วยประหยัดเงินผู้ใช้ได้มากกว่าน้ำมันเบนซิน 95 ประมาณร้อยละ 3.7% ทีเดียว* คำตอบข้อนี้อ้างถึงสภาพการขับขี่ของแต่ละบุคคลแต่ก็ยอมรับว่าแก๊สโซฮอล์ E10 ไม่สามารถให้พลังงานได้เทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 เดิมทําให้ต้องเติมจํานวนมากกว่า เพื่อให้ได้ระยะทางการขับขี่เท่าๆ กัน และเหมือนยอมรับไปถึง E20 ว่าจะยิ่งเห็นความแตกต่างซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเงินของแต่ละท่านแล้ว ที่สําคัญเรายังมีส่วนช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราลดการนําเข้าเชื้อเพลิงลงได้ด้วย ในภาวะวิกฤติพลังงานเช่นนี้ทุกคนในชาติต้องช่วยกันเพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่ออนาคตของคนรุ่นหลัง ปตท. พร้อมที่จะทําหน้าที่ให้ดีและเหมาะสมที่สุดในฐานะ “บริษัทพลังงานแห่งชาติ” อย่างสมบูรณ์ต่อไป ให้สมกับเป็น ปตท. “พลังไทย เพื่อไทย”สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องแก๊สโซฮอล์ ได้ที่• ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) โทรศัพท์ 0-2537-2422• สอบถามข้อมูลทางเทคนิค ได้ที่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. โทร. 02-537-3000 ต่อ 2465, 2415, 3245• ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.pttplc.com*********************************

ความจริงเรื่องแก๊สโซฮอล์ 91

แก๊สโซฮอล์ 91 เบนซินที่ถูกที่สุดและคุ้มค่าที่สุด(ข้อมูลจากบางจาก-กรีนนิวส์-ฉบับ ธ.ค. 2549)

เมื่อเร็วๆ นี้ บางจากฯ ได้จัดทดสอบผลิตภัณฑ์สามชนิดคือ แก๊สโซฮอล์ซูเปอร์ฟาสต์ 91 และ 95 และเบนซินกรีนพลัส 91 เพื่อพิสูจน์อัตราการใช้เชื้อเพลิงของผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดดังกล่าว ในการทดสอบได้กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดดังนี้
- ใช้รถยนต์ TOYOTA VIOS 3 คัน ที่ผลิตในปีเดียวกัน สภาพรถทุกอย่างเหมือนกัน
- ขับไป-กลับ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา รวมระยะทาง 551 กิโลเมตร
- จำกัดความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถแต่ละคันเติมน้ำมันแตกต่างกัน 3 ชนิด คือ แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 และเบนซินกรีน พลัส 91


จากผลการทดสอบ พิสูจน์ได้ว่าการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 สิ้นเปลืองน้อยกว่ากรีนพลัส 91 ถึง 3.65% หรือ ประหยัดค่าน้ำมันได้ถึง 55 บาท จากการทดสอบดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบางจากแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นน้ำมันที่ถูกที่สุดและคุ้มค่าที่สุด

ปัจจุบัน บางจากแก๊สโซฮอล์ 91 นอกจากจะจำหน่ายที่ปั๊มบางจากทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑลแล้ว ล่าสุด บริษัทได้ขยายไปยังภูมิภาคด้วย เช่น ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อุทัยธานี ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ และวางแผนจะขยายการจำหน่ายไปทั่วประเทศโดยเร็วเพื่อให้คนไทยได้ใช้น้ำมันราคาประหยัดทั่วกัน

เตรียมให้พร้อมก่อนใช้ Gasohol
ปัจจุบันหลายๆ คนอาจจะเปลี่ยนไปเติมแก๊สโซฮอล์ แทนน้ำมันเบนซินแล้วแต่ก็ยังมีผู้บริโภคอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่มั่นใจ โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบที่จะมีต่อระบบเชื้อเพลิงและถังน้ำมัน ดังนั้นเพื่อความมั่นใจมากยิ่งขึ้น กรีนนิวส์จึงขอนำผลการทดสอบ Gasohol 95 เปรียบเทียบกับเบนซิน 95 กับวัสดุระบบเชื้อเพลิงต่างๆ ได้แก่ ยาง 3 ชนิด, พลาสติก 2 ชนิด, โลหะ 8 ชนิด โดยทดสอบเป็นเวลา 42 วันต่อเนื่องควบคุมอุณหภูมิที่ 60ºC

ทดสอบยาง
พบว่ายางที่มีส่วนผสมของยางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบ (butadienerubber) การใช้แก๊สโซฮอล์จะมีการขยายตัวมากกว่าการใช้เบนซิน 95 เล็กน้อย แต่ยางที่มาจากการสังเคราะห์จะไม่มีผล ระบบท่อยางที่มีอยู่ในรถยนต์ปัจจุบันที่ใช้วัสดุประเภทยางสังเคราะห์ ดังนั้นจึงสามารถใช้งาน Gasohol ได้โดยไม่ส่งผลกระทบ

ทดสอบพลาสติก
จากการทดสอบการขยายตัวของ Polyethylene พบว่าการใช้แก๊สโซฮอล์ 95 และเบนซิน 95 มีผลใกล้เคียงกัน ส่วนการทดสอบ Nylon พบว่าการใช้แก๊สโซฮอล์ 95 มีการขยายตัวมากกว่าเบนซิน 95 เล็กน้อย

ทดสอบโลหะ
จากการทดสอบกับโลหะทั้ง 8 ชนิด คือ Iron, Aluminum, Brass, Terne sheet, Nickel plated steel, Copper, Zinc, Zinc plated steel พบว่าไม่ว่าจะใช้เบนซิน 95 หรือ แก๊สโซฮอล์ 95 ได้ผลเหมือนกันคือ ไม่พบการสึกกร่อน หรือสนิม

สรุปผลการทดสอบและข้อแนะนำ
1. การใช้แก๊สโซฮอล์ 95 แทนเบนซิน 95 ไม่ส่งผลต่อวัสดุประเภทโลหะ พลาสติกและยางสังเคราะห์
2. รถยนต์รุ่นเก่าใช้แก๊สโซฮอล์ได้โดยมีคำแนะนำดังนี้
2.1 ระบบท่อทางที่ทำจากยาง ถ้ามีชิ้นส่วนที่ใช้ยางธรรมชาติ อาจจะเกิดการขยายตัว ได้เร็วขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนอะไหล่ดังกล่าวเร็วขึ้นกว่ากำหนดเมื่อเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ให้ใช้วัสดุประเภทยางสังเคราะห์ก็สามารถใช้งานได้
2.2 ในระบบถังเก็บน้ำมัน สำหรับรถรุ่นเก่าซึ่งวัสดุทำจากโลหะประเภทเหล็ก (รถสมัยใหม่ปัจจุบัน นิยมใช้พลาสติก) จากการทดสอบพบว่าตัวแก๊สโซฮอล์เองไม่เกิดการกัดกร่อน แต่การกัดกร่อนและการเกิดสนิมในถังเก็บน้ำมันนี้สาเหตุที่แท้จริงมาจากความชื้น ในบรรยากาศ เกิดการควบแน่นขึ้นภายในถังน้ำมัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งการใช้แก๊สโซฮอล์และเบนซิน แต่เนื่องจากค่าการระเหย (RVP) ของแก๊สโซฮอล์นั้นสูงกว่าเบนซิน 95 เล็กน้อย ดังนั้นโอกาสที่อากาศภายในถังเก็บน้ำมันจะขยายตัวและหดตัวเมื่ออากาศเย็นจึงมีมากกว่าจึงอาจจะทำให้เกิดการควบแน่นได้มากกว่าเบนซิน เล็กน้อยวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวคือ
- ควรเติมน้ำมันให้เต็มถังทุกครั้ง
- ไม่ปล่อยให้น้ำมันเหลือปริมาณน้อยๆ เป็นเวลานานๆ เพื่อลดปริมาณอากาศใน ถังเก็บน้ำมัน
- หากต้องจอดรถทิ้งไว้โดยไม่ใช้งานควรจอดในที่ร่มและระวังอย่าให้เหลือน้ำมันในถังน้อยกว่าครึ่งถัง
2.3 ในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จะมีปริมาณออกซิเจนอยู่มากกว่าในน้ำมันเบนซิน อันเนื่องมาจากเอทานอลที่เติมลงไป 10% ดังนั้นเครื่องยนต์รุ่นเก่าที่ใช้ระบบคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งไม่มีระบบอิเลคทรอนิคส์ควบคุมปริมาณอากาศเข้าห้องเผาไหม้เหมือนรถยนต์ที่ใช้ระบบหัวฉีด ในบางกรณีอาจจะต้องปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ เพื่อให้อัตราส่วนของอากาศและน้ำมันมีความเหมาะสมแต่จากที่ผ่านมาพบว่ารถที่เป็นระบบคาร์บูเรเตอร์ส่วนใหญ่ ก็ใช้แก๊สโซฮอล์ได้โดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์แต่อย่างใด

ทดสอบ แก๊สโซฮอล์ 91 VS เบนซิน 91

ยังคงเป็นข้อสงสัยอันดับต้นๆ ในแวดวงยานยนต์เมืองไทยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันก๊าซโซฮอล์ ซึ่งกำลังจะมาแทนที่น้ำมันเบนซิน ด้วยการประกาศ(แกมบังคับ)ของรัฐบาล ที่จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินชนิด 95 คงเหลือแต่เพียงเบนซิน 91 เท่านั้นที่ยังคงจำหน่ายอยู่เมื่อเอ่ยถึงเบนซิน 91 ก็จะต้องนึกถึงน้ำมันที่อาจจะมาแทนที่เบนซิน 91 ในอนาคต เหมือนที่กำลังเกิดกับเบนซิน 95 นั่นก็คือ แก๊สโซฮอล์ 91 ซึ่งปัจจุบันมีเพียง “บางจาก” เจ้าเดียวเท่านั้น ที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ โดยครั้งนี้ “ผู้จัดการมอเตอร์ริ่ง” ได้รับเชิญให้เข้าร่วมทดสอบค้นหาความแตกต่างในการขับขี่ของ แก๊สโซฮอล์ 91 กับ เบนซิน 91สำหรับการทดสอบเป็นการร่วมเดินทางไปกับขบวนแรลลี่ของบางจาก โดยใช้รถโตโยต้า โซลูน่า วิออส 1.5เจ ที่บางจากเตรียมไว้ให้ในการทดสอบครั้งนี้ ซึงมีจำนวน 4 คันแบ่งเป็นเติมแก๊สโซฮอล์ 91 จำนวน 2 คันและเติมเบนซิน 91 อีก ทั้งนี้ขาไปเราขับคันที่เติมแก๊สโซฮอล์ 91 ส่วนขากลับเราขับเบนซิน 91ความรู้สึกจากการขับทั้งสองคัน เราไม่เห็นถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นอัตราเร่ง หรือความเร็วสูงสุดที่เราลองในวันนั้นได้ถึง 170 กม./ชม.แบบสบายๆ และเมื่อได้สอบถามกับสื่อมวลชนท่านอื่นๆ ที่เข้าร่วมทดสอบต่างก็เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง โดยมีบางท่านให้เหตุผลว่า ถึงความรู้สึกไม่แตกต่างว่ามาจากการที่เป็นรถใหม่ สมรรถนะของเครื่องยนต์ยังดีอยู่ ซึ่งถ้าเป็นรถที่เก่าแล้วเราอาจจะสามารถสัมผัสถึงความแตกต่างได้ (แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีรถที่เก่าขนาดนั้น)ด้านอัตราสิ้นเปลือง คันของเราได้ขับประกบคู่ชนิดไปไหนไปกัน จอดไหนจอดด้วยกับคันที่ใช้เบนซิน 91 ซึ่งขับโดยคุณประสงค์ แห่งเดลินิวส์ ผลปรากฏว่า คันของเราใช้ระยะทางวิ่งทั้งหมด 184 กม. เติมน้ำมัน(แก๊สโซฮอล์ 91) จำนวน 12.02 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 15.31 กม./ลิตรขณะที่คันของคุณประสงค์ ใช้ระยะทางวิ่งทั้งหมด 184 กม.เท่ากัน (ถ้าไม่เท่ากันสิ แปลก เพราะวิ่งเกาะติดกันตลอดเส้นทาง) เติมน้ำมัน (เบนซิน 91) จำนวน 11.73 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 15.67 กม./ลิตร เรียกได้ว่า เบนซินประหยัดกว่านิดหน่อย แต่ถ้าคิดเป็นบาท/กม. แล้วละก็ แก๊สโซฮอล์ 91 จะมีอัตราที่ถูกว่าเบนซิน 91 อยู่นิดหน่อย คือ เบนซิน 91 1.56 บาท/กม. ส่วนแก๊สโซฮอล์ 91 1.53 บาท/กม. เนื่องจากราคาของแก๊สโซฮอล์ 91 (23.49 บาท) ถูกกว่า เบนซิน 91 (24.49 บาท) อยู่ 1 บาท(ราคาขณะทดสอบ)ส่วนอีก 2 คันไม่ได้วิ่งประกบกันเหมือนเรา คันแรกเติมเบนซิน 91 ใช้ระยะทางวิ่ง 219 กม. เติมน้ำมันจำนวน 12.73 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 17.20 กม./ลิตร (1.42 บาท/กม.) คันที่สองเติมแก๊สโซฮอล์ 91 ใช้ระยะทางวิ่ง 196 กม. เติมน้ำมันจำนวน 9.54 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 20.55 กม./ลิตร (1.14 บาท/กม.) ซึ่งเราไม่ทราบว่าเขาวิ่งอย่างไรถึงสามารถทำอัตราสิ้นเปลืองได้ดีถึงเพียงนี้ สำหรับผลทดสอบของบางจากเองได้ใกล้เคียงกับคันของเราที่วิ่งประกบกับคันของคุณประสงค์สรุปว่า ทั้งในด้านของประสิทธิภาพและอัตราความสิ้นเปลืองของแก๊สโซฮอล์ 91 กับเบนซิน 91 นั้นเราแทบไม่เห็นความแตกต่าง แต่จะมีจุดต่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ ตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงหากเราหันมาใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แทน เบนซิน 91 ซึ่งจะส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศของเราดีขึ้นและถือ เป็นการช่วยเศรษฐกิจของชาติในอีกด้านหนึ่งด้วย

ยาง ยางรถยนต์



ความรู้เรื่องยาง ยางเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ใช้สำหรับทำหน้าที่รองรับน้ำหนักรถ และใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ ให้เคลื่อนที่ไปได้ความนิ่มนวลและมีความปลอดภัย ยางรถยนต์ที่มีขายในท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น หลายรูปแบบ หลายยี่ห้อ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถ โดยปกติรถยนต์ที่ผลิตออกมาจำหน่าย จะใส่ยางที่มีขนาดและคุณสมบัติเหมาะสมการใช้งานมาให้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานมาให้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้รถสามารถเปลี่ยนไปใช้รุ่นยางอื่นๆที่แตกต่างไปจากที่ใส่มากับรถได้ แต่ผู้ใช้รถจะต้องทราบรายละเอียดต่างๆของยางให้ดีเสียก่อน จึงค่อยเปลี่ยนยางเป็นแบบอื่นมิฉะนั้นอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือเกิดความเสียหายตามมา เช่น มาตรวัดความเร็ว แสดงผลคลาดเคลื่อนจากความจริง รถสั่นสะเทือนมากขึ้น ชิ้นส่วนในระบบรองรับชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ หรือยางแตกเนื่องจากรับน้ำหนักไม่ได้ ชนิดของยางรถยนต์ ยางที่ใช้ในรถยนต์โดยทั่วไป หากแบ่งตามลักษณะของการเก็บลมจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ แบบที่มียางใน (tube trie)และแบบไม่มีอย่างใน (tubeless trie)ลักษณะยางรถยนต์แบบมียางใน ยางก็จะพองตัวขึ้นดันยางนอกแนบสนิทกับขอบกระทะล้อ สำหรับยางรถยนต์แบบไม่มียางใน ขอบของยางนอกจะแนบสนิทกับขอบกระทะล้อทำให้ลมไม่สามารถรั่วออกมาภายนอกได้ ยางรถยนต์แบบมียางในมักจะใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ ส่วนยางรถยนต์แบบไม่มียางในจะใข้รถนั่งส่วนบุคคลและรถกระบะที่รับภาระในการบรรทุกไม่มากนัก โครงสร้างและส่วนประกอบของยางรถยนต์ ยางรถยนต์ทำมาจากยางธรรมชาติผสมกับยางสังเคราะห์ ผงคาร์บอน น้ำมัน สารเคมี และอื่นๆ เสริมความแข็งแรงด้วยชั้นของผ้าใบที่ทำมาจากเส้นด้ายไนลอน หรือโพลีเอสเตอร์ และเส้นลวดเหล็ก โครงสร้างของยางประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ หน้ายาง ไหล่ยาง แก้มยาง และขอบยาง ดังรูป หน้ายาง เป็นส่วนที่สัมผัสกับถนน เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน หรือยึดเกาะถนน หน้ายางของรถยนต์ทั่วไปจะทำเป็นดอกยางและร่องยางเอาไว้เพื่อใช้ในการรีดน้ำออกจากผิวถนนและผลักดันกับผิวถนน ยกเว้นยางรถแข่งที่เป็นทางเรียบและแห้ง หน้ายางจะไม่มีดอกยาง ไหล่ยาง เป็นส่วนต่อระหว่างหน้ายางกับแก้มยาง ไหล่ยางจะช่วยในการระบายความร้อนออกจากหน้ายางและแก้มยาง แก้มยาง เป็นส่วนที่เป็นชั้นผ้าใบหุ้มด้วยยางและมีลมดันจากภายในเพื่อให้ยางรักษารูปร่าง แก้มยางเป็นส่วนที่มีการรับแรงกดจากน้ำหนักรถและเพื่อรักษารุปร่าง แก้มยางเป็นส่วนที่มีการับแรงกดจากน้ำหนักรถและแรงดันด้านข้างจากการเลี้ยวรถ นอกจากนี้แก้มยางยังเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น และเกิดความนุ่มนวลในการขับขี่ ขอบยาง เป็นสว่นที่รัดกับขอบของกระทะล้อให้ยางและล้อกระทะล้อยึดติดเป็นชิ้นส่วนเดียวกัน และป้องกันการรั่วของลมออกจากยาง (กรณียางที่ไม่มียางใน) โครงสร้างของยางเมื่อแยกตามลักษณะของการจัดวางเส้นใยของชั้นผ้าใบ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบไดอะโกนัลไบแอส (diagonal bias) แบบเบลต์ไบแอส (belted bias) และแบบเรเดียล (radail) ดังรูป ยางแบบเรเดียลเป็นยางที่ทำให้รถยนต์มีความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยกว่าการใช้ยางแบบอื่น ทั้งนี้ก็เพราะว่า ยางแบบเรเดียลมีแรงต้านการหมุนน้อยกว่าทำให้ใช้กำลังในการขับเคลื่อนน้อยลง นอกจากนี้ยางแบบเรเดียลยังมีการสึกหรอช้ากว่า เกิดความร้อนน้อยกว่า หน้ายางไม่มีการบิดตัวเมื่อสัมผัสกับถนน ดังนั้นจึงเป้นที่นิยมใช้ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ หรือรถยนต์ที่รับภาระน้อยๆ เช่น รถเก๋ง หรือรถกระบะ โครงสร้างของยางแบบไดอะโกนัลไบแอส (diagonal bias)การวางผ้าใบแต่ละชั้นจะถูกวางจากขอบยางด้านหนึ่งไปยังขอบยางอีกด้านหนึ่ง โดยให้แนวของเส้นใยชั้นผ้าใบในแต่ละชั้นเอียงเป็นแนวทะแยงมุมกัน

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และ น้ำมันเบนซิน



น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์เป็นน้ำมันที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ(crude oil) หรือน้ำมันปิโตรเลียม(petroleum) น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์ในประเทศไทยจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล สำหรับน้ำมันเบนซิน จะแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ 1.น้ำมันเบนซินธรรมดา (regular) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 91 2.น้ำมันเบนซินพิเศษ (premium) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95 3.น้ำมันแก๊สโซฮอล์(gasohol) น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 น้ำมันเบนซินธรรมดาและน้ำมันเบนซินพิเศษ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบผสมกับสารเคมีจนมีค่าออกเทนตามต้องการ เช่น ออกเทน 91 หรือ 95 น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนสูงจะมีจุดติดไฟด้วยตัวเองสูงกว่าน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนต่ำ และมีคุณสมบัติในการต่อต้านการน็อกของเครื่องยนต์ได้ดีกว่า น้ำมันเบนซิน 95 จะมีจุดติดไฟด้วยตัวเองสูง และมีคุณสมบัติในการต่อต้านการน็อกของเครื่องยนต์ดีกว่าน้ำมันเบนซิน 91


น้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มาจากการผสมของน้ำมันเบนซิน หรือ น้ำมันแก๊สโซลีนกับเอทิลแอลกอฮอล์(ethyl alcohol) หรือ เอทานอล (ethanol) เพื่อให้ได้ค่าออกเทนตามต้องการ ทดแทนการใช้สาร MTBE(methyl tertiaryl butyl ether) ที่ต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ น้ำมันแก็สโซฮอล์ที่มีขายอยในปัจจุบันจะมีค่าออกเทนเท่ากับน้ำมันเบนซิน 95 และมีขายเฉพาะบางสถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น เนื่องจากปริมาณการผลิตแอลกอฮอล์ภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และผู้ใช้รถยังไม่แน่ใจว่าการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์จะมีผลเสียต่อเครื่องยนต์หรือไม่ คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้น้ำมันแก๊สโซฮอล์จะถูกนำมาใช้แทนน้ำมันเบนซิน 91และ 95 ทั้งหมดที่ได้มาจากการผสมสารเคมี น้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 91 (แต่ไม่ใช่น้ำมันเบนซิน 91 ที่ขายในตลาดซึ่งมีการผสมสารเคมี) จำนวน 90% และเอทิลแอลกอฮอล์ความบริสุทธิ์ 99.5% จำนวน 10% โดยประมาณ