รวบทิปเกาเหลา “ทำอย่างไรให้ PR เราสูงขึ้น Traffics มากขึ้น Backlinks มากขึ้น “ Part 1
หลังจากที่เขียนบทความแรกเกี่ยวกับ SEM (Introduction to Search Engine Marketing) มีเพื่อนๆเข้าไปดูและให้ comments กลับมาบ้างครับ แต่วันนี้ผมจะขอเขียนถึงประสบการณ์ที่ได้เคยทดลองเองและ ทำตามคนอื่นในการทำ SEO กับ เว็บไซต์ของตัวเองนะครับ ในการสร้าง Backlinks และการเพิ่ม Link Popularity หรือ PR นั่นเองครับ เนื้อหาในหัวข้อต่างๆผมจะเขียนแบบไม่เจาะลึก(เพราะไม่มีอะไรให้เจาะ) เอาแบบเข้าใจง่ายๆครับ บทความนี้ไม่รวมในส่วนของการทำ SEO นะครับ
1. Search Engine Submission (SES) ถือเป็นสิ่งแรกเลยนะครับหลังจากที่เว็บไซต์ของเราเสร็จสมบูรณ์ พร้อมที่จะโลดแล่นอยู่ในโลก Internet การทำการ submit เพื่อให้ Search Engines ต่างๆรู้จักกับเว็บไซต์ของเรา สำหรับบรรดา Search Engines หลักๆก็คือ Google, Msn, Yahoo, และ Search Engines อื่นๆเช่น โดยเฉพาะเจ้าพ่อแห่งวงการ อย่าง Google อย่าลืมที่จะ Submit นะครับ ซึ่งหลังจาก Submit ที่ google แล้ว เว็บของคุณอาจจะติดเจ้า Sandbox ก่อน (เป็น algorithm ชนิดหนึ่งที่ทาง Google สร้างขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันการ Spam ครับ) ข้อดีของการ ทำ SES ก็คือท่าเว็บเราอยู่ในระบบ รับรองได้เลยว่ามีแต่ได้กับได้ครับ
2. Major Directory Submission พวก Web Directory ก็มีมากมายหลายแบบหลายชนิด Directory ยอดนิยมที่ผู้คนให้ความสนใจที่สุดก็คงไม่พ้น พี่ DMOZ ซึ่งไม่รู้เป็นอะไร Submit ง่าย แต่อยู่ในระบบยาก แต่อย่าท้อครับ พยายามทำให้เว็บของคุณอยู่ในระบบ DMOZ ให้ได้ เพราะ เจ้าพ่อ SE อย่าง Google ก็ใช้ฐาณข้อมูลของทาง DMOZ ด้วย เหตุผลก็คือ พี่ DMOZ เขาเป็น Human Edit Directory หรือใช้แรงงานคนในการตรวจสอบนั่นเอง ซึ่งก็คือ Google Directory ส่วนอีก Directory ยอดนิยมของคนมีตังก็คือ Yahoo Web Directory ครับ แต่การที่เราจะเพิ่มชื่อเข้าไปในระบบจะมีค่าใช้จ่ายด้วย แต่เขาก็ไม่รับรองนะครับว่าจะผ่านการตรวจสอบ 100% แต่เท่าตรวจสอบมา เว็บไซต์ที่มี อยู่ในระบบของ DMOZ และ Yahoo Web Directory มักอยู่ในตำแหน่งที่ดีใน SERP (Search Engine Result Page)
3. Paid & Free Directories Submission ของฟรีไม่มีในโลก อาจใช้ไม่ได้กับหัวข้อนี้ ผมจะบอกว่ายังมี Directories มากมายที่ให้เราได้ Submit Free และแบบเสียเงิน ซึ่งสามารถที่จะแยกออกตามหัวข้อต่างๆดังนี้
Regular Link ฟรีไม่ ชัวร์ว่าจะได้อยู่ในระบบไหมRegular Link with Reciprocal อันก็ฟรีแต่ต้องลิงค์กลับให้เขาด้วย แต่มีแนวโน้มจะได้อยู่ในระบบสูง!Featured Link ได้แน่นอนครับ เร็ว และได้อยู่ในอันดับต้นๆเลย แต่เสียเงิน!
พูดกันตรงๆเลยว่า พวก Directories เหล่านี้สามารถที่จะสร้าง Backlinks มาให้กับเว็บเรามากแค่ไหน ผมก็ขอตอบในส่วนของผมว่า หากเว็บเพจ ใน Directory มีค่า PR ซึ่งก็จะส่งผลดีให้กับเราอยู่แล้วยิ่งเป็นของฟรีแล้วยิ่งคุ้มครับ แต่การที่เราจะได้อยู่ในหน้าแรกๆในหัวข้อเช่น Travel ได้นั้นก็ยากพอสมควรครับ ขอให้เรามีความอดทนในการ Submit นะครับ( ตอนนี้ผมเองก็ทำทุกวัน เฮ้อ สู้ๆ)
4. Signature ลายเซ็นพิฆาต หลายๆคนคงรู้จักทิปนี้แน่นอน(โดยเฉพาะตัวผมเองชอบมาก) ขอให้เป็นลายเซ็นที่ไม่เป็นในลักษณะการ Spam หรือขายโฆษณานะครับ (อาจโดนแบนได้จากเว็บบอร์ดนั้นๆ) เอาแบบเนียนและสวยงามครับ ผมจะบอกถึงผลดีที่เราได้รับตรงๆก็คือ Traffic จากจำนวนผู้คนที่จะเข้ามาในเว็บของส่วนผลพลอยได้แบบดับเบิ้ล ก็คือหากเว็บบอร์ดนั้นๆมีเนื้อหาสาระในหมวดเดียวกับเรา ละมีค่า PR ด้วย รับรองได้เลยว่าจะเป็น One way Link ที่มีคุณภาพคับแก้วแน่นอน
5. Link Exchange แลกลิงค์กระจาย หัวข้อนี้ไม่มีอะไรมากครับ แลกลิงค์อย่างเดียวครับ ผมขอแนะนำให้เพื่อนๆสร้างหน้าแลกลิงค์มาโดยเฉพาะเลยนะครับ เช่น Link.html เป็นต้น เพราะว่าลิงค์ที่เราจะทำกลับไปให้ Partner ของเราจะได้ไม่ต้องทำจากหน้า Home หรือ index ของเราครับ ยังมีเว็บไซต์เช่น linkmetro.com Linkmarket.net ให้บริการโปรแกรมแลกลิงค์ ด้วยซึ่งก็มีประโยชน์กับเราตรงๆเลยครับ
6. BackLink for Sell ถึงเวลาต้องซื้อลิงค์ มีเว็บไซต์ทุนหนามากมาย ที่ต้องการให้เว็บไซต์ของตัวเองได้อยู่หน้าแรก อันดับแรกๆใน SERP ใน Keyword นั้นๆ การซื้อ Oneway Link จากเว็บไซต์ที่มีค่า PR สูงๆ ก็เป็นปัจจัยหลักๆในการสร้าง Link Popularity ครับ แต่หากเราจำเป็นต้องทำ ผมขอบอกเลยว่าทำให้เนียนนะครับ ผมขอยกตัวอย่างการซื้อ Oneway links ที่มีคุณภาพไม่ใช่ PR สูงอย่างเดียวและอย่าลืมดูว่าเนื้อหาต้องมีความ สัมพันธ์ กับเว็บไซต์ของเราด้วย โปรดอย่า!ซื้อลิงค์จำพวก 50$ for 10,000 oneway links เป็นต้น ตอนนี้เราคงต้องกลับมาถามตัวเองดูครับ ว่าถึงเวลาที่ต้องเสียเงินหรือยัง (ผมทุนน้อยชอบของฟรี)
7. Content is Everything เนื้อหาดี สาระดี ชีวิตก็ดีขึ้น พวกเราคงเคยได้อ่าน Content is the King ใช่แล้วครับ ถ้าเว็บไซต์ของเราเนื้อหาดีมีข่าวสารน่าติดตาม ข้อมมูลที่ดีและมีประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม รับรองว่ารุ่งครับ ตัวอย่างง่ายๆก็คือหากเว็บของคุณเขียนบทความเกี่ยวกับGoogle Adsense ซึ่งเป็นบทความที่มีให้ประโยชน์กับผู้อ่านมากๆ อาจจะมีเว็บไซต์อื่นนำบทความของท่านไป ลงในเว็บของเขาและทำ ลิงค์กลับมาที่เว็บเจ้าของบทความซึ่งก็คือเว็บคุณ สิ่งที่คุณได้รับ Oneway Link ชื่อเสียง(สำคัญมาก) ไม่แปลกเลยที่หลายๆคน เขียนบทความและ Submit ไปที่ Articleห Directory (หัวข้อต่อไปครับ) อย่าลืมครับว่าไม่ใช่แค่ บทความยังมีสิ่งๆอื่นมากมากมายที่สามารถสร้าง Backlinks กัลมาได้อีกครับ
8. Articles Submission บทความ เสริมสร้างบารมี หัวข้อภาษาไทยอาจจะดูอลังการ (นิดนึง) แต่ของอย่างนี้ไม่เจอกับตัวคงไม่เชื่อแน่ๆ บทความดีๆ บางทีสามารถที่จะทำให้จำนวนผู้เยี่ยมชมสู่เว็บคุณมีมากมายถล่มถลายจน Bandwidth –v’คุณหมดได้ครับ (ระวังไว้จะเจอกับตัว) แต่ก็อย่างว่าครับ มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความและคุณค่าที่มีให้กับผู้อ่านและ เว็บไซต์ที่ดึงไปลงในเว็บเขาครับ เพิ่มเติมอีกนิดนะครับว่า พวก Free Articles เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมีเยอะครับ เช่น http://www.digg.com/
9. PPC Pay Per Click คลิกแล้วจ่าย(ได้คุ้มเสีย) เจ้า PPC หรือ Pay Per Click เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ใน SEM (บทความแรกเลยนะครับที่ผมเขียน) ข้อดีของมันก็คือเราสามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ที่เราต้องการให้เข้าชมเว็บของเราครับ จุดสำคัญจริงๆแล้วไม่ได้อยู่ที่จะนำคนเข้ามาตามคลิกที่เกิดขึ้นครับ แต่อยู่ที่ทำยังไงจะให้คนที่เข้ามา กลับเข้ามาอีกเรื่อยๆครับ(ย้อนไปที่หัวข้อ Content is Everything) หากเราต้องมาเสียเงินเรื่อยๆแต่สิ่งที่ตอบกลับมาคงไม่มีอะไรเลย หากมีแต่ลูกค้าหน้าใหม่ๆ เพราะเราคงไม่โปรโมทเว็บไซต์ของเราทั้งปีแน่ๆ สำหรับ PPC ก็มีหลายเจ้าที่ให้บริการอยู่นะครับ หลักๆก็ Google Adwords, Yahoo Sponsored Search, Overture อื่นๆอีกมากมายครับ
10. Email Marketing โปรโมต เว็บผ่านอีเมลย์ อันนี้เป็นวิธีเก่าเอามาทำใหม่ อย่าลืมเติมน้ำจิ้มและอุ่นก่อนทานนะครับ จริงๆแล้วเป็นวิธีที่ได้ผลพอสมควรถ้าให้ดีควรทำแบบที่ไม่เข้า ข่าย Spam นะครับ เช่นเมลย์ไปแนะนำเว็บไซต์ใหม่ที่เราทำกับ Contact List เพื่อนๆหรือคนรู้จักของเราเท่านั้นครับ ไม่ใช่เชิงพานิชย์ขายสินค้านะครับ สำคัญที่สุดก็คือ เว็บไซต์ที่ติด Adsense โปรดระวังอาจโดนแบนได้นะครับ แนะว่าไม่น่าใช้ถึงไม่น่าใช้ที่สุดครับ
Saturday, August 30, 2008
บทความ วิธีเพิ่ม PR,Traffics, Backlinks เพิ่มขึ้น
Posted by Goods at 9:08 PM 0 comments
Wednesday, August 27, 2008
Tuesday, August 12, 2008
โชเร
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า โชเรคืออะไร แต่เห็นพี่ที่บริษัท Toshiba Carrier เค้าเรียกกัน คือการที่ให้ผลัดกันเอาเรื่องอะไรก็ได้มาเล่าให้ความรู้คนอื่น ๆ ตอนนี้ก็ใกล้คิวผมแล้ว และผมคิดว่าจะเอาเรื่อง ของ google มาเล่าให้ฟังกัน
ก็เริ่มกันเลยน่ะครับ
Google ชื่อนี้ใคร ๆ ก็คงรู้จักกันน่ะครับเพราะคนที่เคยเล่น Internet คุณต้องเคยต้องการหาข้อมูลอะไรก็แค่พิมพ์ลงไปในช่อง search แล้วกด Go แค่นี้แหละคุณก็จะเจอขอมูลที่เกี่ยวข้องขึ้นมาเยอะแยะเลย
ก็เริ่มกันเลยน่ะครับ
Google ชื่อนี้ใคร ๆ ก็คงรู้จักกันน่ะครับเพราะคนที่เคยเล่น Internet คุณต้องเคยต้องการหาข้อมูลอะไรก็แค่พิมพ์ลงไปในช่อง search แล้วกด Go แค่นี้แหละคุณก็จะเจอขอมูลที่เกี่ยวข้องขึ้นมาเยอะแยะเลย
Search Engineมาทำความรู้จักกับ Search EngineSearch Engine คือเครื่องมือออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้งาน เพื่อค้นหาข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะให้บริการฟรี 99.99% โดยหากเราต้องการค้นหาข้อมูลอะไรนั้น เพียงแค่กรองคำค้นหา แล้วกดค้นหา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำคันหานั้น ๆ ก็จะแสดงผลการคันหาแบบเรียงลำดับบนหน้าจอเราทันที
ถ้าจะพูดถึง Google ก็คือ website นั้นเองแต่เป็น web ที่เริ่มให้บริการในการหาข้อมูลบน internet
สถิติการใช้งาน search Engine ที่น่าสนใจจากข้อมูล Google ถือได้ว่าได้อัตราส่วนแบ่งของตลาดมากที่สุด ประมาณ 42.9%Yahoo = 23.8%MSN = 9.6 %Search Engine เจ้าอื่น ๆ ประมาณ 17.4 %
จากสถิติจะเห็นได้ว่า Google ได้นั้นได้ถือครองส่วนแบ่ง search engine ไว้ได้มากที่สุด 49.2% เรียกได้ว่าเกือบกึ่งนึงของอัตรางส่วนโดยรวมส่วน Yahoo 23.8% และ MSN 9.6% ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้ว ยังไม่อาจเท่าอัตราส่วนแบ่งตลาดของ google
สาเหตุที่ Google ได้รับความนิยมในการค้นหาข้อมูลจากผู้ใช้งานทั่วโลกอย่างล้นหลาม
-google สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วตรงใจภายในระยะเวลาแค่เพียงไม่กี่เสี้ววินาที
-ใช้งานง่าย
-ผลลัพธ์จะแสดงผลบนหน้าจอทันที
-สนับสนุนการใช้งานได้หลากหลายภาษา
-บริการเสริมต่าง ๆ อีกมากมาย
-google สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วตรงใจภายในระยะเวลาแค่เพียงไม่กี่เสี้ววินาที
-ใช้งานง่าย
-ผลลัพธ์จะแสดงผลบนหน้าจอทันที
-สนับสนุนการใช้งานได้หลากหลายภาษา
-บริการเสริมต่าง ๆ อีกมากมาย
ช่วงปี 1995-1997 ปี แห่งการเริ่มต้นเป็นช่วงปีซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของตำนาน Google เมื่อ 2 ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ตั้งแต่แรกคือ 2 หนุ่มวัยรุ่น Larry Page และ Sergey Brin ทั้งคู่ได้รู้จักกันที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สาขา Computer science เมื่อปี 1995 ขณะนั้น Larry อายุ 24 ปี และ Sergey อายุ 23 ปี
เดือนมกราคมปี 1996 Larry Page และ Sergey Brin ได้เริ่มค้นคว้าเทคโนโลยีจักรกลค้นหาหรือว่า search engines ที่สมัยนั้น ถูกเรียกว่า BackRub
ปี 1998 สัญญาณของความสำเร็จทั้ง 2 หนุ่มได้พยายามสานต่อรากเหง้าของเทคโนโลยีที่ตนเองคิดค้นขึ้นมาให้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยใช้หอพักของ Larry มาเป็นห้อง Data center ห้องแล็บแรกของ Google ซึ่งในช่วงแรกทั้งคู่ก็ไม่ได้สนใจที่จะจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีนี้ออกไปสู่ท้องตลาด ขณะนั้นเว็บไซต์ของ Yahoo! เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ของพวกเขา แต่เหมือนฟ้าดลใจ เพราะตอนนั้น Yahoo! ไม่สนใจระบบ Search engine และมองว่ากลุ่มลูกค้าของยาฮูไม่จำเป็นต้องใช้จักรกลค้นหาแบบนี้ และแนะนำให้ Larry และ Sergey ตั้งบริษัทขึ้นมารองรับเองจะดีกว่าเมื่อได้รับคำตอบแบบนี้ ก็เลยทำให้ทั้ง 2 คนตัดสินใจที่จะเริ่มต้นสร้างอาณาจักรของตนเองขึ้นมา สิ่งแรกที่พวกเขาคิดก็คือ หาเงินทุนสำหรับใช้เป็นงบประมาณใจการย้ายออฟฟิศออกไปจากหอพักนักศึกษาแห่งนี้ และหาทางจ่ายเงินค่าฮาร์ดดิสก์ที่พวกเขาลงทุนที่จะมาช่วยโครงการนี้ให้สำเร็จคนแรกที่มองเห็นศักยภาพของ Search engine ก็คือ Andy Bechtolsheim ผู้ร่วมก่อตั้ง Sun Microsystems
ปี 1999 เงินทุนก้อนใหญ่มาแล้ววันที่ 7 มิถุนายน 1999 Google ก็ได้ประกาศว่าได้มีผู้ร่วมทุนขนาดใหญ่เข้ามาอีก 2 รายคือ Mike Moritz แห่งกลุ่มบริษัทเงินทุน Sequoia และ John Doerr ของบริษัท Kleiner Perkins มานั่งอยู่ในตำแหน่งคณะกรรมการบริหารของบริษัทพร้อมกับเม็ดเงินลงทุนเพิ่มเข้ามาอีกถึง 25 ล้านดอลลาร์ และโปรแกรม Search Engines ก็ได้ถูก AOL/Netscape นำไปใช้สำหรับเป็นเครื่องมือด้านในเว็บไซต์ ซึ่งมียอดใช้งานสูงถึง 3 ล้านครั้งต่อวันเลยทีเดียว
เริ่มปรากฏที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แล้ววันหนึ่ง Andy ได้พูดประโยคที่กลายเป็นตำนานของ Google นั่นก็คือ “แทนที่จะมาพูดกันแต่เรื่องของรายละเอียดของโปรแกรม เอาเป็นว่าผมเขียนเช็คให้กับคุณเลยดีกว่า” แล้วเช็คเงินจำนวน 1 แสนดอลลาร์ก็ทำให้ Google Inc. ถูกก่อตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการนับแต่การพูดคุยกันในวันนั้น เมื่อร่วมกับเงินทุนจากญาติพี่น้องเพื่อนฝูงและคนที่มองเป็นอนาคตของ Google สุดท้ายเงินลงทุนเบื้องต้นในการสร้างอาณาจักรของ Google ก็เลยลงเอยของการเริ่มต้นที่ 1 ล้านดอลลาร์
ปี 2000 ปีแห่งการสยายปีกของ Googleเป็นปีที่อาณาจักรของ Google เริ่มค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเสริมอย่าง Google Directory และบริการค้นหาข้อมูลผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย รวมถึงความสามารถในการให้บริการภาษาต่าง ๆ สำหรับใช้ค้นหาลิงก์เว็บไซต์ได้ถึง 10 ภาษาทั่วโลกวันที่ 26 เดือนมิถุนายน Google และ Yahoo! ได้ประกาศการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันโดยทั้ง 2 บริษัทจะมีการและเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน เพื่อรองรับบริการที่เข้ามาสูงถึง 18 ล้านครั้งต่อวัน
สิ้นปี 2000 Google สามารถทำยอดสถิติคนใช้บริการค้นหา Search Engines ได้สูงถึงวันละ 100 ล้านคน การใช้งานของโปรแกรมนี้แพร่หลายไปกลุ่มคนทุกระดับที่มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา นักวิจัยค้นคว้า รวมถึงบริการค้นหาแบบไร้สายนั้นก็ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย เพราะอุปกรณ์มือถือนั้นมีการใช้งานกันทั่วโลก และเมื่อโทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ การมีเครื่องมือสำหรับใช้ค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน
ปี 2002 สานต่อเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในระดับโมเลกุลเดือนกุมภาพันธ์ 2002 Google ได้รับรางวัล “Search Engine Watch Awards” ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้จากการลงความเห็นของเว็บมาสเตอร์จากทั่วโลกที่ให้คะแนน Google ในฐานะบริการยอดเยี่ยมด้านต่าง ๆ
บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines)
Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
· Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ· Cached Links : บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
· Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
· Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
· Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
· File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
· Groups : ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
· I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
· Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
· Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
· Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
· Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
· News Headlines : บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
· PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
· Q&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
· Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
· Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
· Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
· Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
· Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
· Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
· Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆบริการในกลุ่ม Google Services
· Alerts : บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์
· Answer : บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
· Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog ในประเด็นที่คุณสนใจ
· Catalogs : บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
· Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
· Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
· Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
· News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
· Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
· Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
· Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณบริการในกลุ่ม Google Tools
· Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
· Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
· Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
· Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
· Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
· Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง Firetox
· Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
· Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
· Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์ กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
· Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
· Translate : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
· Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรีบริการสำหรับคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ (website owner)
· Google AdWords : ระบบสร้างโฆษณาและลิงก์เกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ ด้วยวิธีการสร้างโฆษณาแบบง่าย ๆ นี้ จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายได้โดยไม่ยาก
· Google AdSense : เป็นบริการหาโฆษณาที่เจ้าของเว็บไซต์สามารถมีรายได้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของตนเอง เพียงแต่คุณนำโฆษณาของ Google มาไว้บนเว็บไซต์ ด้วยระบบ Cost-per-click นี้จะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ถ้าหากว่ามีคนคลิ้กดูโฆษณาบนเว็บไซต์ของคุณ
- ในปี 2002 Google มีรายได้ทั้งสิ้น 439.508 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตของธุรกิจ 409%
- ในปี 2003 Google มีรายได้ทั้งสิ้น 1,4665.934 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตของธุรกิจ 234%
- ในปี 2004 Google มีรายได้ทั้งสิ้น 3,189.223 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตของธุรกิจ 118%
- ในปี 2005 Google มีรายได้ทั้งสิ้น 6,138.560 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตของธุรกิจ 92%
- ในปี 2006 Google มีรายได้ทั้งสิ้น 10,604,917 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตของธุรกิจ 73%
- ในปี 2007 Google มีรายได้ทั้งสิ้น 16,593,986 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตของธุรกิจ 56%
Posted by Goods at 1:33 AM 1 comments
Labels: โชเร, ประวัติ google
My Company TCTC
บริษัทของผมที่ที่ 2 คือ Toshiba Carrier (TCTC) อยู่ที่สวนอุตสาหกรรม บางกะดี จังหวัด ปทุมธานี เป็นบริษัทที่ผมเพิ่งเริ่มทำงานได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว
ผมทำงานในแผนก Design Construction ของตัว CDU หรือตัว Outdoor unit หรือ Condencer unit
Posted by Goods at 1:15 AM 0 comments
Labels: TCTC, Toshiba Carrier
Subscribe to:
Posts (Atom)